ประวัติความเป็นมา
เมื่อประมาณปี 2323 ได้ถูกกองทัพเวียงจันทร์ตีแตกถอยร่นมาทางอีสานใต้...ตามน้ำมูลและรวมตัวกันที่ดอนมดแดง ต่อมาถูกกองทัพเวียงจันทร์ ตีแตกอีกผู้คนจึงแตกกระจัดกระจายกันออกไปตั้งหมู่บ้านใหม่ทั้งใกล้ และใกลจากดอนมดแดง รวมทั้งกุศกรด้วย เดิมที กุศกร นั้น เรียกหากันว่า กุดแซ่กอน กล่าวคือ ชาวบ้านที่กระจัดกระจายจากดอนมดแดง หลังจากถูกกองทัพเวียงจันทร์แตกได้มาตั้งรกรากอยู่ที่ใกล้แหล่งน้ำ ซึ่งชาวบ้านเรียกว่ากุด ในสมัยนั้น การปลูกสร้างบ้าน ต้องใช้หญ้าแฝก หรือ หญ้าคา มุงเป็นหลังคาต้องใช้ไม้กลมยาวมาพาดเรียงกันเพื่อรองรับหญ้า ซึ่งไม้นี้ เรียกเป็นภาษาพื้นบ้านว่ากอน ในสมัยก่อน ยังไม่มียาฆ่าปลวกฆ่ามอด ต้องใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านเอา กล่าวคือ ชาวบ้านได้นำไม้กอนที่ว่า ไปแช่ในน้ำ(ซึ่งไม่ทราบว่าใช้เวลานานเท่าไหร่) ซึ่งอาจจะใช้เวลาเป็นเดือน หรือหลายเดือน กว่าที่น้ำจะซึมเข้าไปในไม้จนแน่ใจว่าจะปลวกหรือมอดจะไม่กินไม้ ซึ่งหนองน้ำที่ใช้แช่ กอนนั้นเรียกว่า กุดแซ่กอน (กุดแช่กอน) ชาวบ้านที่อื่นจะเรียกชาวบ้านที่อยู่บริเวณนั้นว่า ชาวกุดแซ่กอน ซึ่งต่อมาภายหลัง ได้เรียกเพี้ยนมาเป็น กุศกร กำนันคนแรกของตำบลกุศกรคือ นายราย จันสุตะ ตำบลกุศกร ได้เคยถูกยุบไปรวมกับตำบลโคกจานในปี 2486 แต่ก็ได้ถูกจัดตั้งเป็นตำบลอีกครั้งในปี 2488 กำนันคนปัจจุบันของตำบลกุศกร คือ นายถวิล สิงสีทา ลักษณะการปกครอง เป็นองค์การบริหารส่วนตำบล
|
|